วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

อินเตอร์เน็ตกับวัยรุ่น

ในปัจจุบันนี้อินเตอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น  เราสามารถรับและส่งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้มากมายจากเครือข่ายนี้  และยังสามารถได้รับประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตอีกด้วย แต่การใช้อินเตอร์ไม่ได้มีแต่ประโยชน์เสมอไป  มี่ทั้งประโยชน์ และผลกระทบอินเตอร์เน็ตซึ่งมีทั้งคุณและโทษ อินเตอร์ โทษมีมากมายมหาศาล  โทษของอินเตอร์เน็ตมักจะมาคู่กับวัยรุ่น  เพราะวัยรุ่นสมัยนี้ส่วนใหญ่มักใช้อินเตอร์เน็ตไปในทางที่ผิด  คือ ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อทำให้ตนเองมีความสุข  ถ้าวัยรุ่นใช้ไปในทางที่ถูกก็เป็นผลดีต่อตนเองไปแต่ถ้าใช้ไปในทางที่ผิดก็จะมีผลเสียกับตน
การใช้งานอินเตอร์เน็ตแพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ๆ มีสมาชิกมากหน้าหลายตาเข้ามาใช้บริการ  ขณะที่วัยรุ่นบางคนเพลิดเพลินอยู่เพียงแค่การ chat (การสนทนา) โดยไม่สนใจข่าวสารต่าง ๆ ทั้งที่สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งใกล้ตัวมากขึ้นทุกวัน  สำหรับช่องว่างตรงนี้ ทำให้วัยรุ่นบางคนเจอกับอันตรายต่าง ๆ นานา ซึ่งการ chat นี้เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่วัยรุ่น  การเข้ามา chat นั้นมีหลายจุดประสงค์  เป็นต้น
เด็กไทยกับภัยจากอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตเป็นคลังแห่งข้อมูลและเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารและรับส่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทั่วโลก การใช้อินเทอร์เน็ตนั้นก่อประโยชน์มหาศาล แต่ก็แอบแฝงไปด้วยภัยอันตรายต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเข้าถึงข้อมูลที่ไม่เหมาะสำหรับเด็ก ค่านิยมผิด ๆ ในเรื่องเพศ การล่อลวงในวงสนทนา นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์ที่เต็มไปด้วยเรื่องลามก และเรื่องรุนแรงต่าง ๆ ที่ยากต่อการที่จะควบคุมตรวจสอบได้ อาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตเหล่านี้เป็นภัยที่อันตรายมากพอที่จะกำหนดเส้นทางอนาคตของเด็กได้ ดังนั้น ก่อนที่เด็กไทยเราจะตกเป็นเหยื่อของภัยเหล่านี้ พ่อแม่ ผู้ที่อยู่ใกล้ชิด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจภัยอันตรายต่าง ๆ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกยุคใหม่นี้ เพื่อที่จะรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และปรับตัวเอง
ตั้งรับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างชาญฉลาด เพื่อช่วยปกป้องและนำพาให้เดินไปในทิศทางที่ถูกต้องไม่ไขว้เขวออก
อินเทอร์เน็ตอันตรายต่อเด็กอย่างไร
เมื่อพูดถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานของอินเทอร์เน็ตโดยไม่มีการจำกัดขอบเขต หรือดูแลการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็ก  ก็จะมองเห็นปัญหาอย่างมากมาย  ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบอื่นได้เช่น ภาพความรุนแรงระหว่างเด็กกับอินเทอร์เน็ตในบ้านเราอาจจะไม่รุนแรงเท่ากับประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยีทั้งหลาย หากแต่พิจารณาตามศักยภาพและตัวเลขการใช้อินเทอร์เน็ต หรือการเปิดบริการอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ที่เติบโตขึ้นเรื่อยมา ทำ
ให้หลายคนอดเป็นห่วงอันตรายจากอินเทอร์เน็ตที่จะเกิดขึ้นกับเด็กในหลายรูปแบบ
อย่างแรก คือภาพหรือข้อมูลที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก เช่น  เว็บลามก  เว็บที่สนับสนุนให้ก่อความรุนแรง หรือ เว็บที่กล่าวถึงยาเสพย์ติด หรือเว็บที่สอนในสิ่งที่ไม่ดี เช่น สอนทำระเบิดขวด เว็บเหล่านี้อาจส่งผลต่อความคิดของเด็ก และส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กในอนาคต  เช่นกรณีของเด็กในยุโรปเจอเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการทำระเบิดขวดแล้วลองทำด้วยตัวเองโดยที่พ่อแม่ไม่ทราบแล้วนำไปโยนเล่น จนเกิดเป็นเหตุสลดใจ ซึ่งในที่สุดเด็กสารภาพว่านำความรู้มาจากอินเทอร์เน็ต จึงก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา  เมื่อเด็กไปเจอกับเว็บไซต์ที่ไม่
อันตรายในลำดับถัดมาพบว่า เด็กในปัจจุบันใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตมากเกินไป ซึ่งไม่เพียงส่งผลต่อสุขภาพร่างกายโดยตรงแล้ว ยังเป็นการลดความสัมพันธ์กับสังคมในเวลาเดียวกัน โดยเฉพาะการมีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัว เด็กจะหันไปสร้างความสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า เป็นความรู้สึกแบบฉาบฉวยและทำให้เด็กไม่กล้าสื่อสารโดยการพูด การออกกฎหมายเพื่อควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นความพยายามอย่างหนึ่งที่จะสกัดกั้นอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก ถึงแม้อินเทอร์เน็ตจะมีประโยชน์มหาศาล แต่ในทางกลับกัน ก็มีความเสี่ยงทุกครั้งเมื่อลูกหลานของท่านออนไลน์ เราควรรู้ถึงความเสี่ยงเหล่านี้แต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันลูกหลานจากภัยอินเทอร์เน็ตที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ความเสี่ยงเหล่านี้ได้แก่
เปิดรับสิ่งที่ไม่เหมาะสม เมื่อเข้าไปในบางเว็บไซต์ มีความเป็นไปได้ที่จะเด็กจะเจอกับสิ่งที่ไม่เหมาะสมโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น โฆษณาชวนเชื่อ ข้อความรุนแรงในเว็บบอร์ด เรื่องเกี่ยวกับเซ็กซ์ภาพอนาจาร ลิงค์ไปยังเว็บไซต์ลามก รวมไปถึงกิจกรรมมอมเมาเยาวชน และสิ่งผิดกฎหมายทั้งหลายการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และการทำร้ายร่างกาย เมื่อเกิดการพูดคุย หรือการแชท (Chat) เกิดขึ้น เด็กอาจจะถูกล่อหลอกให้บอกข้อมูลส่วนตัวทั้งของตนเอง และของครอบครัว ซึ่งมิจฉาชีพจะนำไปหาผลประโยชน์ และอาจก่อความเสียหายร้ายแรงได้ หรืออีกในกรณี เด็กอาจจะถูกชักชวนให้ไปนัดพบกับเพื่อนในอินเทอร์เน็ต อาจเกิดการล่อลวงไปทำมิดีมิร้ายได้ และเกิดอาชญากรรมตามมาถ้อยคำรุนแรง มักจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กเข้าไปแชทกับคนแปลกหน้า หรือเมื่อเด็กเข้าไปอ่านข้อความ และแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด เว็บบอร์ดส่วนใหญ่จะมีระบบกรองคำหยาบอยู่แล้ว แต่ก็มีเว็บบอร์ดอีกไม่น้อยเช่นกัน ที่สามารถพิมพ์คำหยาบลงไปได้ ส่วนใหญ่เว็บบอร์ดที่ไม่เหมาะสมเหล่านี้จะแฝงตัวอยู่ในพวกเว็บไซต์ใต้ดิน หรือเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับความรุนแรง และอนาจารโดยเฉพาะ ซึ่งเด็กอาจจะพลัดหลงเข้าไปในเว็บไซต์ประเภทนี้ได้สิ่งผิดกฎหมาย และการเงิน มีความเป็นไปได้ที่เด็กอาจจะถูกเกลี้ยกล่อมให้บอกหมายเลขบัตรเครดิตของผู้ปกครอง ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้ หรือแม้กระทั่งถูกชักจูงให้เข้าขบวนการมิจฉาชีพ ทำสิ่งผิดกฎหมาย โดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือ
เพราะฉะนั้นวัยรุ่นต้องให้ความสำคัญกับการใช้อินเตอร์เน็ตในเรื่องของการศึกษา  หรือเรื่องอื่นๆ เป็นต้น  แต่ไม่ควรใช้ในทางที่ผิด  ซึ่งอินเตอร์จะให้ทั้งคุณและโทษ  สำหรับครอบครัวเป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องดูและเอาใจใส่วัยรุ่นในการใช้อินเตอร์เน็ต


อ้างอิง
http://www.blogger.com/post-create.g?blogID=8280546060267637526

บริการต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต

บริการบนอินเทอร์เน็ตมีหลายประเภท เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ได้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน ซึ่งในที่นี้จะยกตัวอย่างบริการบนอินเทอร์เน็ตที่สำคัญดังนี้

        1.บริการด้านการสื่อสาร
        1.1 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(electronic mail)
        ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่าอีเมล์ (E-mail) ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมประจำวันของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งการส่งและรับจดหมาย หรือข้อความถึงกันได้ทั่วโลกนี้จำเป็นจะต้องมีที่อยู่อีเมล์ (e-mail address หรือ e-mail account) เพื่อใช้เป็นกล่องรับจดหมาย ที่อยู่ของอีเมล์จะประกอบ ด้วยส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้ (User name) และชื่อโดเมน(Domain name) ซึ่งเป็นชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีรายชื่อของผู้ใช้อีเมล์ โดยชื่อผู้ใช้และชื่อโดเมนจะคั่นด้วยเครื่องหมาย @(อ่านว่า แอ็ท) เช่น Sriprai@sukhothai.siamu.ac.th จะมีผู้ใช้อีเมล์ชื่อ Sriprai ที่มีอยู่อีเมล์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ชื่อ sukhothai ของมหาวิทยาลัยสยาม(siamu) ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษา (ac) ในประเทศไทย (th)

        ในการรับ-ส่งจดหมาย โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น ได้มีการพัฒนาโปรแกรมที่ใช้สำหรับอีเมล์อยู่หลายโปรแกรม เช่น โปรแกรม Microsoft Outlook Express โปรแกรม Netscape Mail เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับที่อยู่อีเมล์ได้ฟรีจากเว็บไซต์ที่ให้บริการที่อยู่อีเมล์ฟรี เว็บไซต์ที่เป็นที่รู้จักและนิยม ได้แก่ www.hotmail.com, www.chaiyo.com, www.thaimail.com

        โดยทั่วไปแล้ว ส่วนประกอบหลัก ๆ ของอีเมล์จะประกอบด้วยส่วนหัว (header) และส่วนข้อความ (message)

        1.2 รายชื่อกลุ่มสนทนา (mailing lists)
        mailing lists เป็นกลุ่มสนทนาประเภทหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่มีการติดต่อสื่อสารและการส่งข่าวสารให้กับสมาชิกตามรายชื่อและที่อยู่ของสมาชิกที่มีอยู่ ในรายการซึ่งในปัจจุบันมีกลุ่ม mailing lists ที่แตกต่างกันตามความสนใจจำนวนมาก การเข้าไปมีส่วนร่วมในกลุ่มสนทนาประเภทนี้ ผู้ใช้จะต้อง สมัครสมาชิกก่อนด้วยการแจ้งความประสงค์และส่งชื่อและที่อยู่เพื่อการลงทะเบียบไปยัง subscription address ของ mailing lists ตัวอย่าง mailing list เช่น ทัวร์ออนไลน์ (tourbus@listserv.aol.com)กลุ่มสนทนาเรื่องตลก (dailyjoke@lists.ivllage.com)

        1.3 กระดานข่าว (usenet)
        ยูสเน็ต (usenet หรือ user network) เป็นการรวบรวมของกลุ่มข่าวหรือ newsgroup ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สนใจที่ต้องการจะติดต่อและแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคนอื่น ๆ กลุ่มของ newsgroup ในปัจจุบันมีมากกว่า 10,000 กลุ่มที่มีความสนใจในหัวข้อที่แตกต่างกัน เช่น กลุ่มผู้สนใจศิลปะ กลุ่มคอมพิวเตอร์ กลุ่มผู้ชื่นชอบภาพยนต์ เป็นต้น

        การส่งและรับแหล่งข่าวจาก usenet จะใช้โปรแกรมสำหรับอ่านข่าวเพื่อไปดึงชื่อของกลุ่มข่าวหรือหัวข้อจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้เข้าไปขอใช้บริการ

        เช่นเดียวกับระบบชื่อโดเมน (DNS) กลุ่มข่าวจะมีการตั้งชื่อเพื่อใช้เป็นแบบมาตรฐาน ซึ่งชื่อกลุ่มจะประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก ๆ คือ ชื่อหัวข้อกลุ่มข่าวหลัก (major topic) ชื่อกลุ่มข่าวย่อย (subtopic) และประเภทของกลุ่มข่าวย่อย (division of subtopic) ตัวอย่างเช่น

        1.4 การสนทนาออนไลน์(On-line chat)
        การสนทนาออนไลน์ เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่น ๆ ได้ในเวลาเดียวกัน (real-time) การสนทนาหรือ chat (Internet Relay Chat หรือ IRC)ได้มีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการสนทนาระหว่างบุคคลหรือ กลุ่มบุคคลสามารถใช้
ภาพกราฟิก ภาพการ์ตูนหรือภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ แทนตัวผู้สนทนาได้ นอกจากการสนทนาแล้ว ผู้ใช้ยังสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและไฟล์ได้อีกด้วย

        การใช้งาน IRC ผู้ใช้จะต้องติดต่อไปยังเครื่องที่เป็นไออาร์ซีเซิร์ฟเวอร์ (IRC server) ที่มีการแบ่งห้องสนทนาเป็นกลุ่ม ๆ ที่เรียกว่า แชนแนล (channel) โดยผู้ใช้จะต้องมีโปรแกรมเพื่อใช้สำหรับการสนทนา (ซึ่งสามารถดาวน์โหลดฟรีจากอินเทอร์เน็ต) เมื่อผู้ใช้ติดต่อกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ได้แล้ว ก็จะเลือกกลุ่มสนทนาหรือหัวข้อสนทนาที่สนใจ และเริ่มสนทนาได้ตามความต้องการ ตัวอย่าง โปรแกรมสนทนาออนไลน์ที่นิยมใช้กัน ในปัจจุบัน เช่น ICQ(I Seek You) และ mIRC

        การสนทนาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันผู้ใช้สามารถใช้สื่อประสม (multimedia) ประกอบด้วย เสียงพูด และภาพเคลื่อนไหว โดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ไมโครโฟน ลำโพง กล้องวีดีโอ และอื่น ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและเพื่อประสิทธิภาพของการสนทนา ให้ดียิ่งขึ้น ในส่วนของโปรแกรม ได้มีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อการสนทนาออนไลน์ที่มีคุณภาพ เช่น โปรแกรม Microsoft NetMeeting ที่สามารถสนทนากันไปพร้อม ๆ กับมองเห็นภาพของคู่สนทนาได้ด้วย

        1.5 เทลเน็ต (telnet)
        เทลเน็ตเป็นบริการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ระยะไกล โดยจะใช้การจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังใช้งานอยู่ ให้เป็นจอภาพ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกลเครื่องนั้น การทำงานในลักษณะนี้ จะช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในกรณีที่ต้องเดินทางไปใช้งาน เครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกล การใช้งานเทลเน็ตจะเป็นการแสดงข้อความตัวอักษร (text mode) โดยปกติการเข้าไปใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ ระยะไกล จำเป็นต้องมีรายชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน แต่ก็มีบางหน่วยงานที่อนุญาติให้เข้าใช้บริการโดยไม่ต้องระบุรหัสผ่านเพื่อ เป็นการให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้าทั่ว ๆ ไป


        2.บริการด้านข้อมูลต่าง ๆ
        2.1 การขนถ่ายไฟล์(file transfer protocol)
        การขนถ่ายไฟล์ หรือที่เรียกสั้น ๆว่า เอฟทีพี (FTP) เป็นบริการที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทางอินเตอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการไฟล์จะเรียกว่า เอฟทีพีเซิร์ฟเวอร์ (FTP sever หรือ FTP site)

        ข้อมูลที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จะมีลักษณะหลายรูปแบบ ได้แก่ ข้อมูลสถิติ งานวิจัย บทความ เพลง ข่าวสารทั่วไป หรือโปรแกรมฟรีแวร์ (freeware) ที่สามารถดาวน์โหลดและใช้โปรแกรมฟรี

        ในบางครั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จะให้บริการเฉพาะบุคคลที่มีบัญชีรายชื่ออยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ก้ฒีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จำนวนมากอนุญาตให้ผู้ใช้ทั่วไปได้เข้าไปใช้บริการ ถึงแม้ว่าในบางครั้งจะไม่อนุญาต ให้ขนถ่ายไฟล์ทั้งหมดก็ตาม

        2.2 โกเฟอร์ (gopher)
        เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ให้บริการข้อมูลในลักษณะของการค้นหาจากเมนู(menu-based search) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการข้อมูล โปรแกรมโกเฟอร์พัฒนาโดยมหาวิทยาลัย Minnesota ในปี ค.ศ. 1991 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการฐานข้อมูลจะเป็นลักษณะของเมนูลำดับชั้น (hierarchy) เพื่อเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่กระจายกันอยู่หลายแหล่งได้

        2.3 อาร์ซี (archie)
        อาร์ซี เป็นการเข้าใช้บริการค้นหาข้อมูลจากเครื่องแม่ข่ายที่เป็นอาร์ซีเซิร์ฟเวอร์ (archie sever ) ซึ่งเป็นแหล่งที่ช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาสถานที่ของข้อมูล จากนั้นก็จะไปค้นข้อมูลโดยตรงจากสถานที่นั้นต่อไป

        2.4 WAIS (Wide Area Information Severs)
        WAIS เป็นบริการค้นหาข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตที่ได้รวบรวมข้อมูลและดรรชนีสำหรับสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้เพื่อสามารถเข้าไปยังข้อมูลที่ต้องการและสามารถเชื่อมโยงไปยังศูนย์ข้อมูล WAIS อื่นๆ ได้ด้วย

        2.5 veronica
        veronica ย่อมาจาก very easy rodent-oriented net-wide index to computerized archives เป็นบริการที่รวบรวมข้อมูลเพื่อช่วยอำนวย ความสะดวกในการค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว

        2.6 การค้นหาข้อมูลโดยใช้เว็บเบราเซอร์
        อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายใยแมงมุมที่มีการเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก การค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ถ้าผู้ใช้ไม่ทราบที่อยู่ของเว็บไซต์ ก็สามารถค้นหาแหล่งข้อมูลโดยใช้บริการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วปัจจุบันการค้นหาข้อมูลที่ต้องการเป็นเรื่อง ที่กระทำได้สะดวกและรวดเร็ว การพัฒนาเว็บไซต์ที่ช่วยสืบค้นแหล่งข้อมูลที่เรียกว่า เครื่องค้นหา (search engine) ช่วยให้การค้นหาทั้งในรูปของ ข้อความและกราฟิกกระทำได้โดยง่าย เว็บไซต์ที่ช่วยสำหรับการสืบค้นข้อมูลที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ yahoo.com, altavista.com, lycos.com, excite.com, ask.com, infoseek.ccom



อ้างอิง

วิวัฒนาการการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต

ในปัจจุปันการใช้อินเทอร์เน็ตมีบทบาทกับชีวิตประจำวั นมากขึ้น และใช้งานกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความจำเป็นที่จะต้องติดต่อสื่อสาร อินเตอร์เน็ตจึงได้รับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อ รองรับการสื่อสารรูปแบบต่างๆ เช่น การใช้จดหมายอินเล็กทรอนิกส์ การติดต่อด้วยเสียง ระบบ VDO Conference การใช้โทรศัพท์บนเครือข่าย ซึ่งก็มีวิวัฒนาการตามลำดับเบื้องต้นดังนี้

E-mail
หรือ จดหมายอิเล็กทรอนิคส์เป็นบริการอย่างหนึ่งที่นิยมใช้ กันอย่างแพร่หลายมาก จนทำให้บางคนคิดว่า E-mail คือ อินเตอร์เน็ต และอินเตอร์เน็ตคือ E-mail วิธีใช้งานอีเมลล์ก็ง่ายและมีประโยชน์มาก การทำงานของ E-mail มีลักษณะคล้ายกับระบบไปรษณีย์ปกติ (หมายถึงระบบที่ใช้กระดาษในการเขียนจดหมาย) กล่าวคือในระบบไปรษณีย์ปกติมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ใน การรับส่งจดหมายคือเป็นบรุษไปรษณีย์ (ในกรณีของประเทศไทยคือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย) ถ้าเป็นในอินเตอร์เน็ตสิ่งที่ทำหน้าที่คอยรับส่งจดหม ายคือบรรดาคอมพิวเตอร์ทั้งหลายที่ทำหน้าที่เป็น E-mail Server (คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการด้านจดหมายอิเล็กท รอนิคส์)

Chat
คือ การส่งข้อความสั้นๆ ระหว่างบุคคลที่อยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในเวลาเดี ยวกัน และสามารถเขียน

โต้ตอบกันไปมาคล้ายกับการคุยกัน ซึ่งก็ได้มีการพัฒนโปรแกรมสำหรับหาร Chat ออกมามากมายที่เป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายก็ค ือ MSN Messenger

และสิ่งหนึ่งที่มีการพัฒนาต่อมา คือระบบการสื่อสารด้วยเสียงผ่านเครือข่าย IP ที่เรียกว่า เทคโนโลยี Voice over IP หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “VoIP” จนสามารถใช้งานได้ดีขึ้น เพื่อให้ได้รับประโยชน์และมีความสะดวกมากที่สุด VoIP ถูกเริ่มต้นใช้งานกันอย่างกว้างขวาง เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลสามารถสนทนา ระหว่างกัน ได้ รวมถึงการสนทนากับโทรศัพท์พื้นฐานอีกด้วยโดยไม่เสียค ่าบริการแต่อย่างได และคุณภาพของบริการก็ถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆจนเทียบเท ่าระบบ โทรศัพท์พื้นฐาน

ซึ่ง VoIP สามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะคือ
1. คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ไปยัง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ( PC to PC )
PC มีการติดตั้ง sound card และไมโครโฟน ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่าย IP การประยุกต์ใช้ PC และ IP-enabled telephones สามารถสื่อสารกันได้แบบจุดต่อจุด หรือ แบบจุดต่อหลายจุด โดยอาศัย software ทางด้าน IP telephony



2. คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ไปยัง โทรศัพท์พื้นฐาน ( PC to Phone )
เป็นการเชื่อมเครือข่ายโทรศัพท์เข้ากับ เครือข่าย IP ทำให้โดยอาศัย Voice trunks ที่สนับสนุน voice packet ทำให้สามารถใช้ PC ติดต่อกับ โทรศัพท์ระบบปกติได้


3. โทรศัพท์กับโทรศัพท์ ( Telephony )
เป็นการใช้โทรศัพท์ธรรมดา ติดต่อกับโทรศัพท์ธรรมดา แต่ในกรณีนี้จริงๆแล้วประกอบด้วยขั้นตอนการส่งเสียงบ นเครือข่าย Packet ประเภทต่างๆซึ่งทั้งหมดติดต่อกันระหว่างชุมสายโทรศัพ ท์ (PSTN) การติดต่อกับ PSTN หรือ การใช้โทรศัพท์ร่วมกับเครือข่ายข้อมูลจำเป็นต้องใช้ gateway



อ้างอิง
http://monavista.com/webboard/showthread.php?t=3685&page=1

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

ในยุคก่อนที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์จะถือกำเนิดขึ้นนั้น การติดต่อส่งข้อมูลข่าวสารจะผ่านทางสื่อต่าง ๆ เช่น ไปรษณีย์ โทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละสื่อก็จะมีข้อดีและข้อจำกัดต่าง ๆ กันไป แต่ในปัจจุบันนี้ สื่อที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในการส่งข้อมูลข่าวสารมากที่สุด ก็คือระบบการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือกล่าวได้ว่าประโยชน์สูงสุดอย่างหนึ่งของคอมพิวเตอร์ในยุคแห่งสารสนเทศนี้ ก็คือการช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสาร และแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว
  • การสื่อสารข้อมูลทางอิเลคทรอนิคส์ คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์ทางอิเลคทรอนิคส์ ซึ่งเชื่อมอยู่ด้วยสื่อกลางชนิดใดชนิดหนึ่ง
    ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ ระบบการเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองตัวขึ้นไป เพื่อให้สามารถทำการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเลคทรอนิคส์ระหว่างกันได้นั่นเอง
  • การประมวลผลข้อมูลกับการสื่อสารข้อมูลทางอิเลคทรอนิกส์ เมื่อระบบการสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์พัฒนาก้าวหน้าขึ้น จึงมีการประยุกต์ใช้วิธีการสื่อสารข้อมูลแบบต่าง ๆ เข้าช่วยให้การใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลข้อมูลเป็นไปได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น รวมทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ด้วย
  • แบบจำลองสำหรับอ้างอิง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยใหม่จะถูกออกแบบให้มีโครงสร้างที่แน่นอน และเพื่อเป็นการลดความซับซ้อน ระบบเครือข่ายส่วนมากจึงแยกการทำงานออกเป็นชั้น ๆ โดยกำหนดหน้าที่ในแต่ละชั้นไว้อย่างชัดเจน
  • ช่องทางการสื่อสารข้อมูล เครือข่ายคอมพิวเตอร์นอกจากจะประกอบขึ้นจากการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายแล้ว ยังต้องมีช่องทางหรือสื่อกลาง ( media) ในการส่งผ่านข้อมูล ซึ่งในปัจจุบันจะมีอยู่มากมายหลายแบบ และแต่ละแบบก็จะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป สิ่งที่จะต้องคำนึงในการเลือกช่องทางที่ต้องการคือ
      • อัตราเร็วในการส่งผ่านข้อมูล (Transmission Rate) อาจเลือกได้ตั้งแต่ความเร็วอยู่ในหลัก Kbpd (กิโลบิตต่อวินาที ) จนถึงหลายสิบ Mbps (เมกะบิตต่อวินาที )
      • ระยะทาง (Distance) ต้องคำนึงถึงระยะทางระหว่างอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อกันด้วย โดยอาจห่างกันตั้งแต่ไม่กี่ฟุตจนถึงหลายพันกิโลเมตร
      • ค่าใช้จ่าย (Cost) อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งครั้งแรกและค่าใช้จ่ายประจำ
      • ความสะดวกในการติดตั้ง (Each of Installtion) เนื่องจากบางพื้นที่อาจไม่สะดวกที่จะเดินสาย หรือไม่อาจใช้สื่อบางประเภทได้
      • ความทนทานต่อสภาพแวดล้อม (Resistance to Environmental Conditions) เช่น สื่อบางประเภทอาจมีข้อจำกัด เมื่อสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลง

    ในการใช้งานจริงนั้น จะสามารถใช้งานช่องทางต่าง ๆ มากกาว่าหนึ่งช่องทางพร้อม ๆ กันขึ้นกับความเหมาะสม ซึ่งสามารถจำแนกช่องทางสำหรับการสื่อสารข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบันออกเป็นรูปแบบต่าง ๆ ได้ดังนี้

      การทำงานร่วมกันของข่องทางต่าง ๆ
  • อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย จะต้องทำการเชื่อมระหว่างอุปกรณ์และสื่อกลางแบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งอาจมีความต้องการเฉพาะรูปแบบต่าง ๆ เช่น การรวมข้อมูลจากหลาย ๆ จุดเพื่อส่งผ่านไปยังสายเคเบิลโทรศัพท์เพียงสายเดียว หรืออาจต้องการขยายระยะทางการใช้งาน รวมทั้งอาจต้องเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายที่มีลักษณะแตกต่างเข้าด้วยกัน ความต้องการเหล่นี้ทำให้ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเฉพาะงาน
  • ชนิดของระบบเครือข่าย
  • ระบบเครือข่าย LAN
    ระบบเครือข่ายแบบ LAN หรือระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ โดยปกติแล้วจะเป็นระบบเครือข่ายส่วนตัว นั่นคือองค์กรที่ต้องการใช้งานเครือข่าย ทำการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายในระยะใกล้ ๆ ซึ่งจะช่วยให้เกิดประโยชน์แก่องค์กรและธุรกิจต่าง ๆ มากมาย เช่น
    • สามารถแบ่งเบาการประมวลผลไปยังเครื่องต่าง ๆ เฉลี่ยกันไป
    • สามารถแบ่งกันใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ ซีดีรอมไดรฟ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง เป็นต้น
    • สามารถแบ่งกันใช้งานซอฟต์แวร์และข้อมูลหรือสารสนเทศต่าง ๆ รวมทั้งทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้เพียงที่เดียว
    • สามารถวางแผนหรือทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้ แม้จะไม่ได้อยู่ใกล้กันก็ตาม
    • สามารถใช้ในการติดต่อกัน เช่น ส่งจดหมายทางอิเลคทรอนิคส์ หรือการส่งเสียงหรือภาพทางอิเลคทรอนิคส์ เป็นต้น
    • ช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยรวมขององค์กร
  • ระบบเครือข่าย WAN ระบบเครือข่ายแบบ WAN หรือระบบเครือข่ายระยะไกล จะเป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงเครือข่ายแบบท้องถิ่นตั้งแต่ 2 เครือข่ายขึ้นไปเข้าด้วยกันผ่านระยะทางที่ไกลมาก โดยการเชื่อมโยงจะผ่านช่องทางการสื่อสารข้อมูลสาธารณะของบริษัทโทรศัพท์ หรือองค์การโทรศัพท์ของประเทศต่าง ๆ เช่น สายโทรศัพท์แบบอนาลอก สายแบบดิจิตอล ดาวเทียม ไมโครเวฟ เป็นต้น
  • การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในโลกปัจจุบัน กล่าวได้ว่าระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นส่วนสำคัญที่สุดในระบบงานต่าง ๆ มากมาย เนื่องจากได้มีการประยุกต์ใช้ในส่วนต่าง ๆ ทั้งในทางธุรกิจ การศึกษา การบันเทิง ฯลฯ และในโลกยุคต่อไปการประยุกต์ใช้เหล่านี้จะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังจะเห็นได้จากความเฟื่องฟูของระบบเครือข่าย INTERNET ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงโลกให้เป็นหนึ่งเดียว


อ้างอิง
http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/network.htm

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต


อินเทอร์เน็ต ( Internet ) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มาก ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไซเบอร์สเปซ ( Cyberspace )
          อินเทอร์เน็ต ทำให้การเคลื่อนย้ายและส่งผ่านข่าวสาร ข้อมูลจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งกระทำได้โดยง่าย โดยไม่จำกัดเรื่องระยะทางและเวลา สามารถส่งข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ส่งเป็นแบบข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคม เป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่าย
          การเชื่อมโยงเครือข่ายจะใช้เครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคม เช่น สายสัญญาณโทรศัพท์ ใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) สัญญาณไมโครเวฟ สัญญาณจากดาวเทียม ทำให้การส่งผ่านข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเป็นไปด้วยความรวดเร็ว อินเทอร์เน็ตเป็น แหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นที่รวมทั้งบริการและเครื่องมือสืบค้นข้อมูลหลายประเภท จนกระทั่งกล่าวได้ว่าอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในระดับบุคคลและองค์กร
การเชื่อมต่อเข้าเป็นอินเทอร์เน็ตอาศัยการบริหารแบบกระจายอำนาจอินเทอร์เน็ต จึงไม่มีใครเป็นเจ้าของหรือควบคุมดูแลอย่างแท้จริง เครือข่ายแต่ละส่วนในอินเทอร์เน็ตต่างบริหารเครือข่ายของตนเองอย่างเป็นอิสระ โดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายติดตั้งระบบและการเช่าวงจรสื่อสารเพื่อต่อเชื่อมเข้าด้วยกัน แต่ในทางปฏิบัติแล้ว อินเทอร์เน็ตมีองค์กรระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประสานความร่วมมือระหว่างสมาชิกองค์การนี้ได้แก่ สมาคมอินเทอร์เน็ต ISOC ( Internet Society )
          ISOC เป็นองค์กรเพื่อความร่วมมือและประสานงานของสมาชิกอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ เป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร และมีนโยบายสนับสนุนการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นโครงสร้างพื้นฐานอย่างหนึ่งสำหรับการศึกษาและงานวิจัย และทำหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไป ISOC ยังทำหน้าที่ในการพัฒนามาตรฐานและเทคโนโลยี เพื่อใช้ในอินเทอร์เน็ต ภายใน ISOC มีคณะทำงานอาสาสมัครร่วมวางแนวทางพัฒนาอินเทอร์เน็ต ให้สมาชิกถือปฏิบัติ แต่ไม่มีหน้าที่ดูแลหรือควบคุมการบริหารเครือข่ายแต่อย่างใด


อ้างอิง

สื่ออินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน

หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ที่ผมอ่านเป็นประจำก็มี ฐานเศรษฐกิจ ประชาชาติ และผู้จัดการรายสัปดาห์ ช่วงหลังมานี้ฐานเศรษฐกิจลดบทความที่เกี่ยวกับไอทีลงไปเยอะมาก คอลัมน์ถูกลดความสำคัญลงไป ซ่อนอยู่ใน Ceo Focus เมื่อหากจัดลำดับปริมาณข่าวไอทีแล้วแย่สุดคงต้องยกให้ฐานเศรษฐกิจ ประชาชาติธุรกิจดีขึ้นมาหน่อย และผู้จัดการรายสัปดา์ห์ยังคงให้ความสำคัญเรื่องไอทีอย่างเสมอต้นเสมอปลาย
แม้ว่าฐานเศรษฐกิจจะไม่ได้เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ แต่ก็ไม่ถึงกับละเลย วันนี้ผมเปิดไปเจอการสำรวจ “สื่ออินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน” ของ Initiative คาดว่าน่าจะเป็นบริษัทที่ทำเรื่องการวิจัย น่าสนใจดีครับ แม้ว่าข้อมูลจะน้อยไปหน่อย
internet_consumption_everyday.jpg
จากการสำรวจพบว่า 25% ของคนอายุ 12 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และจากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในต่างจังหวัดทั้งหมด มี 20% นั้นใช้อินเทอร์เน็ตทุกวัน และจากการที่มีผู้คนหันมาใช้สื่ออินเทอร์เน็ตมากขึ้นทำให้สืออินเทอร์เน็ตมีอัตราการเติบโตถึง 15% ในช่วงปี 2549 – 2552 ในขณะที่สื่อหลักอื่นๆ มีอัตราการเติบโตที่ลดลง
media_consumption_percent.jpg
เมื่อดูในเขตกรุงเทพฯ พบว่าวัยรุ่นมีอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากสุด โดยเพิ่มถึง 31% ซึ่งอาจมีผลมาจากราคาอินเทอร์เน็ตถูกลง การเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน โดยเมื่อเข้าไปดูในรายละเอียดของกิจกรรมที่ทำบนอินเทอร์เน็ตนั้นพบกว่า ส่วนใหญ่ใช้งานอีเมล์ แชต และเล่นเกมส์เป็นหลัก ที่มีข้อสังเกตุว่า การหาข้อมูลรีวิวสินค้าีมีอัตราการเติบโตสูงถึง 186%
12-24_years_internet_activity.jpg
ในขณะที่วัยเริ่มทำงานใช้อ่านเมล์ อ่านข่าว แชต ซึ่งแชตหรือการพูดคุยสื่อสารผ่านเน็ตในวัยทำงานนั้นมีเพิ่มขึ้นถึง 176% และกิจกรรมที่มีโน้มเพิ่มขึ้นอันต่อมาคือ การหาข้อมูลของสินค้าและบริษัท 56% และสำหรับคนวัย 40+ ใช้อีเมล์ อ่านข่าว ดาวน์โหลด (ซึ่งอันนี้เพิ่มขึ้นถึง 55%) และการแชตหรือพูดคุยสื่อสารผ่านเน็ตเพิ่มขึ้นถึง 160%


อ้างอิง
http://www.bellja.com/25

ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต




อ้างอิง
http://www.thaiall.com/article/internet.htm
อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น
ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกัน
ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน
ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด
ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)
ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา
ข้อมูลจาก http://www.computerhistory.org/exhibits/internet_history/ 
และ http://www.sri.com/about/timeline/arpanet.html
Arpanet : The Internet as you know it today, and through which you are accessing this information, had its beginnings in the late 1960s as the "ARPANET". Started by the U.S. Department of Defense Advanced Research Projects Agency (now DARPA), the entire network consisted of just four computers linked together from different sites to conduct research in wide-area networking. SRI, then known as the Stanford Research Institute, hosted one of the original four network nodes, along with the University of California, Los Angeles (UCLA), the University of California, Santa Barbara (UCSB), and the University of Utah. The very first transmission on the ARPANET, on 29th October 1969, was from UCLA to SRI.

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความสำคัญของอินเทอร์เน็ต

      ความสำคัญของอินเทอร์เน็ต

  ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีบทบาทและมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเราเป็นอย่างมาก  เพราะทำให้วิถีชีวิตเราทันสมัยและทันเหตุการณ์อยู่เสมอ  เนื่องจากอินเทอร์เน็ตจะมีการเสนอข้อมูลข่าวปัจจุบัน  และสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ผู้ใช้ทราบเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน  สารสนเทศที่เสนอในอินเทอร์เน็ตจะมีมากมายหลายรูปแบบเพื่อสนองความสนใจและความต้องการของผู้ใช้ทุกกลุ่ม  อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งสารสนเทศสำคัญสำหรับทุกคนเพราะสามารถค้นหาสิ่งที่ตนสนใจได้ในทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปค้นคว้าในห้องสมุด  หรือแม้แต่การรับรู้ข่าวสารทั่วโลกก็สามารถอ่านได้ในอินเทอร์เน็ตจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ของหนังสือพิมพ์
          ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงมีความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนเราในปัจจุบันเป็นอย่างมากในทุก ๆ ด้าน  ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่อยู่ในวงการธุรกิจ  การศึกษา  ต่างก็ได้รับประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตด้วยกันทั้งนั้น
          1.  ด้านการศึกษา  อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญ  ดังนี้
                    1.  สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล  ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ  ข้อมูลด้านการบันเทิง  ด้านการแพทย์  และอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
                    2.  ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
                    3.  นักเรียนนักศึกษาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้  ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง  ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ
          2.  ด้านธุรกิจและการพาณิชย์  อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญดังนี้
                    1.  ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
                    2.  สามารถซื้อขายสินค้า  ทำธุรกรรมผ่านระบบเครือข่าย
                    3.  เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์  โฆษณาสินค้า  ติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ
                    4.  ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท    หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ  และสนับสนุนลูกค้าของตนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้  เช่น  การให้คำแนะนำ  สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า  แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware)  โปรแกรมแจกฟรี (Freeware)
          3.  ด้านการบันเทิง  อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญดังนี้
                    1.  การพักผ่อนหย่อนใจ  สันทนาการ  เช่น  การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ที่เรียกว่า  Magazine Online  รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่น ๆ โดยมีภาพประกอบที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสารตามร้านหนังสือทั่ว ๆ ไป
                    2.  สามารถฟังวิทยุหรือดูรายการโทรทัศน์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
                    3.  สามารถดึงข้อมูล  (Download)  ภาพยนตร์มาดูได้




ที่มาและได้รับอนุญาตจาก : 
บุญลักษณ์  เอี่ยมสำอางค์  เกื้อกมล  พฤกษประมูล และโสภิต  พิทักษ์. ภาษาไทย  หลักการใช้ภาษาและการใช้ภาษา ม.4. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.


เอกสารอ้างอิง
- ทีมงานทรูปลูกปัญญา

อินเทอร์เน็ตกับการศึกษา

     อินเทอร์เน็ตกับการศึกษา

อินเทอร์เน็ตสามารถให้ผู้เรียนติดต่อสื่อสารกับผู้คนทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว และ
สามารถสืบค้นหรือเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศจากทั่วโลก จึงทำให้เกิดการเรียนรู้ตามอัธยาศัยการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตกับกิจกรรมตามหลักสูตรเดิมที่มีอยู่ ทำให้ผู้เรียนเกิด
ทักษะในด้านการคิดอย่างมีระบบ (High - Order Thinking Skills) การคิดเชิงวิเคราะห์ (Critical Thinking) การวิเคราะห์สืบค้น (Inquiry - Based Analytical Skill) การวิเคราะห์ข้อมูล การแก้ปัญหา และการคิดอย่างอิสระเป็นการสนับสนุนกระบวนการสหสาขาวิชาการ (Interdisciplinary) คือ ในการนำ
เครือข่ายมาใช้เชื่อมโยงกับกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น นักการศึกษาสามารถที่จะบูรณาการการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ เช่นคณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคม ภาษา
วิทยาศาสตร์ ฯลฯ เข้าด้วยกันอินเทอร์เน็ตเมื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการศึกษาก็จะทำให้เกิดประโยชน์และสร้าง
ความเท่าเทียมกันในด้านการศึกษาให้มากยิ่งขึ้น
รูปแบบของอินเทอร์เน็ตทางการศึกษา
รูปแบบของอินเทอร์เน็ตทางการศึกษาสามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้การศึกษาค้นคว้า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่รวมเครือข่ายงานต่าง ๆ ไว้มากมาย ทำ
ให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ได้ทั่วโลกการติดต่อสื่อสาร ผู้เรียนและผู้สอนสามารถใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการติดต่อ
สื่อสารได้ไม่ว่าจะเป็นการรับส่ง E-mail , Chat , Telnet , Usenet เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่ผู้สอนจะใช้อินเทอร์เน็ตในการนำเสนอบทเรียน สั่งงาน ตอบคำถามข้อสงสัย
รับงาน ฯลฯ ส่วนผู้เรียนจะใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนรู้ ส่งงาน ทบทวนบทเรียนระหว่างผู้สอนแล้วยังสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนอื่น ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ในหัวข้อต่าง ๆ ได้อีกด้วยการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ต การใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนการสอนนั้น
สามารถทำได้ในรูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web Based Instruction : WBI) ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่ประยุกต์คุณลักษณะของอินเทอร์เน็ต โดยนำ
ทรัพยากรที่มีอยู่ใน WWW มาเป็นสื่อกลางเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิง เอกสารประกอบการเรียน บทเรียน
สำเร็จรูป หรือแม้กระทั่งหลักสูตรวิชา เนื่องจาก Web เป็นบริการบนอินเทอร์เน็ตที่มีแหล่งข้อมูลอยู่มากมายและหลายรูปแบบ ทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง การเคลื่อนไหวหรือ
เสียง โดยอาศัยคุณลักษณะของการเชื่อมโยงหลายมิติ (Hyperlink) ทั้งในรูปแบบของ ข้อความหลายมิติ (Hypertext) หรือสื่อหลายมิติ (Hypermedia)เพื่อเชื่อม โยงแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกัน และเป็นการนำประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าข้อมูลในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการสนองตอบแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นหลัก
หลักการใช้อินเทอร์เน็ต
หลักการใช้อินเทอร์เน็ต โดยใช้หลัก SMART ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
(S) Safety ความปลอดภัย
(M) Manners ความมีมารยาท
(A) Advertising and Privacy Protection การรักษาสิทธิส่วนบุคคลในการเลือกรับสื่อโฆษณา
(R) Research ความสามารถในการค้นคว้าข้อมูลที่เป็นประโยชน์
(T) Technology ความเข้าใจเทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ตสิ่งที่จำเป็นต้องรู้บนอินเทอร์เน็ตProtocol

Protocol คือ กฎระเบียบหรือภาษากลางของคอมพิวเตอร์ เพื่อ ให้ทุกเครื่องติดต่อด้วยมาตรฐานเดียวกัน
2. TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)TCP/IP เป็นโปรโตคอลมาตรฐานที่ใช้ติดต่อสื่อสารในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
3. ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต (Internet Address)ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต หรืออีเมล์แอดเดรส จะประกอบด้วยชื่อของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (user) และชื่อของอินเทอร์เน็ต (Internet Name) โดยจะมีรูปแบบคือ user@
Internet Name เช่น Noomuan@nakornping.cmri.ac.th จะหมายถึงผู้ใช้ชื่อ Noomuan เป็นสมาชิกของเครื่องที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเป็น nakornping.cmri.ac.th
4. หมายเลขอินเทอร์เน็ต (IP Address)
หมายเลขอินเทอร์เน็ต จะเป็นรหัสไม่ซ้ำกัน ประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด ที่คั่นด้วย เครื่องหมายจุด (.) เช่น 205.151.224.10 จะเป็น IP Adress ของ cmri.ac.th ( สถาบันราชภัฏเชียงใหม่) แต่ละชุดจะไม่เกิน 255หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ IP Address ทั่วโลกโดยตรง ก็คือหน่วยงาน InterNIC (Internet Network Information Center)
5. ชื่ออินเทอร์เน็ต (DNS:Domain Name Server)
ชื่ออินเทอร์เน็ต จะเป็นชื่อที่อ้างถึงคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น (เนื่องจาก IP Address เป็นตัวเลข 4 ชุด ที่ยากในการจดจำ) DNSนั้นจะประกอบ ไปด้วยชื่อคอมพิวเตอร์ ชื่อเครือข่ายท้องถิ่น ชื่อสับโดเมน และชื่อโดเมน เช่น mail.ksc.net.th, jupiter.ksc.net.th (mail , jupiter คือ ชื่อคอมพิวเตอร์ , ksc คือ
ชื่อเครือข่ายท้องถิ่น , net คือชื่อสับโดเมน , th คือชื่อโดเมน) WWW.cmri.ac.th (www คือชื่อเครื่องที่ให้บริการข้อมูลแบบ World Wide Web , cmri คือชื่อ
เครือข่ายท้องถิ่น , ac คือชื่อสับโดเมน , th คือชื่อโดเมน)
192.133.10.1
chulkn.chulu.ac.th
ภาพที่ 10.1 DNS ที่สอดคล้องกับ IP Address ของสถาบันวิทยบริการ ฯจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตารางที่ 10.1 ตัวอย่างชื่อโดเมนในประเทศสหรัฐอเมริกา
ชื่อโดเมน
ประเภทขององค์กรในสหรัฐอเมริกา

com : Commercial Organizations
องค์กรเอกชน

gov : Government Organizations
องค์กรรัฐบาล

mil : Military Organizations
องค์กรทหาร

net : Network Organizations
องค์กรบริการเครือข่าย

org:Non–Commercial Organizations
องค์กรอื่น ๆ / องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร

edu : Educations Organizations
สถาบันการศึกษา
ตารางที่ 10.2 ตัวอย่างชื่อโดเมนซึ่งเป็นชื่อย่อของประเทศต่าง ๆ
ชื่อโดเมน
ชื่อประเทศ

au : Australia
ออสเตรเลีย

fr : France
ฝรั่งเศส

jp : Japan
ญี่ปุ่น

th : Thailand
ไทย

Uk : United Kingdom
อังกฤษ
ตารางที่ 10.3 ตัวอย่างชื่อสับโดเมนซึ่งเป็นส่วนขยายของชื่อโดเมน
ชื่อสับโดเมน
คำอธิบาย

co : Commercial Organizations
สำหรับองค์กรเอกชน

go : Government Organizations
สำหรับองค์กรรัฐบาล

Net : Network Organizations
สำหรับองค์กรบริการเครือข่าย

or : Non–Commercial Organizations
สำหรับองค์กรอื่นๆ/องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร

ac : Academical Organizations
สำหรับสถาบันการศึกษา
การเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต
เชื่อมต่อโดยตรง
เชื่อมต่อโดยตรง จะเป็นการเชื่อมต่อโดยตรงกับเครือข่ายหลัก (Backbone) โดยผ่านอุปกรณ์เกตเวย์ (Gateway) หรือเราเตอร์ (Router) จะต่อโดยตรงกับ
Internet การเชื่อมต่อโดยตรงนั้นเป็นการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูง แต่การรับส่งข้อมูลนั้นรวดเร็วและมีความน่าเชื่อถือ
การเชื่อมต่อผ่านทางผู้ให้บริการ
การเชื่อมต่อผ่านทางผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการการเชื่อมต่อเรียกว่า ISP (Internet Service Provider) แบ่งลักษณะการเชื่อมต่อออกเป็น 2 ประเภท
2.1 การเชื่อมต่อแบบองค์กร องค์กรที่มีการจัดระบบเครือข่ายอยู่แล้วเมื่อนำเครื่องเซิร์ฟเวอร์มาเชื่อมต่อกับ ISP เครื่องลูกในระบบก็สามารถเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้
2.2 การเชื่อมต่อส่วนบุคคล โดยการเชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์แปลงสัญญาณที่เรียกว่า โมเด็ม (Modulator/DEModulator : Modem) ซึ่งมีค่า
ใช้จ่ายไม่สูง โดยมักเรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า Dial - Up
อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต
1. คอมพิวเตอร์
2. สายโทรศัพท์ จะต้องมีคู่สายโทรศัพท์เป็นหมายเลขส่วนตัว
3. โมเด็ม (Modem) เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ผ่านสายโทรศัพท์ เพื่อการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยปกติสัญญาณสาย
โทรศัพท์เป็นแบบอนาล็อก โมเด็มมีหน้าที่แปลงจากสัญญาณอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิตอล
4. สมาชิกอินเทอร์เน็ต จะต้องสมัครสมาชิกกับศูนย์บริการอินเทอร์เน็ต เมื่อสมัครก็จะได้ชื่อล็อกอิน (Use Name) และรหัสผ่าน (Password) สำหรับใช้งานอิน
เทอร์เน็ต
5. ซอฟแวร์และโปรแกรมประยุกต์ เช่น โปรแกรมบราวเซอร์ Internet Explorer , Netcape

การสมัครเข้าเป็นสมาชิกของอินเทอร์เน็ต
ก่อนที่จะเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้นั้นจะต้องทำการสมัครเป็นสมาชิกของอินเทอร์เน็ตก่อน ซึ่งมีรูปแบบของการสมัครเป็นสมาชิก ดังนี้
รูปแบบที่เป็น Packet สำเร็จรูป ในปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมากซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าสู่
ระบบอินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น ซึ่งมีขายกันทั่ว ๆ ไป มีหลากหลายรูปแบบให้ได้เลือก ซึ่งมีราคาติดอยู่ข้างหน้าพร้อมกับระยะเวลาและจำนวนชั่วโมง ภายในจะมีแผ่นซีดีที่มี
โปรแกรม IE และโปรแกรมอื่น ๆ รวมอยู่พร้อมทั้งคู่มือการติดตั้งและรหัส Use Name และรหัส Password ที่เป็นกระดาษเหมือนกับซองกระดาษรหัส ATM บรรจุอยู่
รูปแบบการสมัครทางโทรศัพท์ เป็นการสมัครที่ผู้ใช้จะต้องโทรศัพท์ไปยังศูนย์บริการ
อินเทอร์เน็ต เมื่อติดต่อได้แล้วทางศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตจะโอนไปให้ฝ่ายขายซึ่งผู้ใช้ต้องสอบถามราคา ระยะเวลา และจำนวนชั่วโมง เมื่อผู้ใช้เลือกชุดเวลาที่ต้องการ
ได้แล้วทางศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตจะบอกหมายเลขบัญชีธนาคารเพื่อให้ผู้ใช้โอนเงินเข้าบัญชี แล้วผู้ใช้จึงนำใบนำฝากแฟกซ์ไปให้ทางศูนย์บริการอินเทอร์เน็ต จากนั้น
ทางศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตจะแจ้ง Use Name และรหัส Password กลับมาให้ผู้ใช้
การสืบค้นข้อมูลจาก WWW
ส่วนมากจะใช้ Search Engine ในการสืบค้นข้อมูลจาก WWW Search Engine เป็นเครื่องมือในการค้นหาเว็บไซต์ ทำหน้าที่ในการให้บริการค้นหาข้อมูล โดย
เน้นเรื่องความสามารถในการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสะดวกมากขึ้นในการค้นหาข้อมูลในเรื่องราวต่างๆ โดยเว็บไซต์พวกนี้จะมีบริการอยู่
มากมายไม่ว่าจะเป็นของต่างประเทศหรือของไทย
วิธีใช้ Search Engine เริ่มจากหาเว็บไซต์และ Directory ที่มีเนื้อหาที่เราสนใจ จากนั้นก็
คลิกเข้าไปที่เว็บไซต์ที่ต้องการก็จะพบหน้าแรกที่เป็นช่องและเครื่องมือการสืบค้น ดังนี้
ค้นหา
จากนั้นก็ใส่ข้อมูลที่ต้องการลงในช่องค้นหา และกดปุ่ม Search ค้นหา และทางเว็บไซต์จะทำการค้นหาและรายงานผลการค้นหา แสดงชื่อเว็บไซต์ และ Directory ที่
เกี่ยวข้องให้ทราบ
Search Engine ที่นิยมกันมีมากมายเช่น www.google.com , www.sanook.com , www.hunsa.com , www.siamguru.com ,
www.hotsearch.dbg.co.th , www.thaifind.com , www.yumyai.com , www.thaiseek.com เป็นต้น
คำศัพท์บางคำที่เกี่ยวข้อง
Web Site เป็นเครื่องที่ใช้ในการจัดเก็บเว็บเพจ แต่ละองค์กรที่จะนำเสนอข้อมูลของตนในรูปของเว็บนี้ มักจะมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง และมักใช้ชื่อองค์กรเป็นชื่อเว็บ
ไซต์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถจดจำได้ง่าย
Home Page เว็บเพจหน้าแรกสุดของข้อมูลแต่ละเรื่อง ซึ่งก็เปรียบเหมือนหน้าปกของหนังสือนั่นเอง ส่วนของโฮมเพจนี้ จะเป็นส่วนที่บอกให้ทราบว่าข้อมูลนี้เป็น
ข้อมูลเรื่องใด พร้อมกับมีสารบัญในการเลือกไปยังหัวข้อต่าง ๆ ในเรื่องนั้น ๆ ด้วย
Web Page เอกสารข้อมูลในแต่ละหน้าซึ่งถูกเขียนขึ้นด้วยภาษา HTML ข้อมูลที่แสดงในเว็บเพจแต่ละหน้านี้อาจประกอบด้วย ข้อความ ภาพ และเสียง จึงเป็นข้อมูล
แบบสื่อประสม (Multimedia)
Web Browser เว็บเพจแต่ละหน้าเป็นเอกสารข้อมูลที่ถูกเขียนขึ้นด้วยภาษา HTML ดังนั้น การที่เครื่องของเราจะอ่านและแสดงผลเว็บเพจเหล่านี้ได้ จะต้องมี
โปรแกรมพิเศษสำหรับทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ โปรแกรมเหล่านี้เรียกว่า เว็บเบราเซอร์ (Web Browser) ซึ่งมีอยู่มากมายในปัจจุบัน แต่ที่รู้จักกันดี ได้แก่ Internet
Explorer (IE) ของบริษัท Microsoft และ Netscape Navigator ของบริษัท Netscape ซึ่งทั้งสองโปรแกรมนี้มีขีดความสามารถที่ใกล้เคียงกันเป็นอย่างมาก
WWW (World Wide Web) เป็นแหล่งข้อมูลแบบใยแมงมุม
HTML (HyperText Makeup Language) ระบบสร้างไฟล์ข้อมูล WWW
HTTP (HyperText Transfer Protocol) ระบบตอบโต้สำหรับการโอนไฟล์ไฮเปอร์เท็กซ์ซึ่งเป็นข้อมูล WWW
Hypertext ไฮเปอร์เท็กซ์เป็นคำที่มีข้อความหรือไฟล์ซ่อนอยู่เบื้องหลัง ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเมนูหรือคำอธิบายสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคำนั้น ๆ
Login ล็อกอิน คือการเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศูนย์คอมพิวเตอร์
Server เซิร์ฟเวอร์ คือศูนย์คอมพิวเตอร์หลักที่ให้บริการ



เอกสารอ้างอิง
- http://pontip.awardspace.com/main/main5.html